การบริการจัดการทรัพยากรช่วง COVID-19 อย่างไร ไม่ให้พลาดจนนำไปสู่ความรุนแรง เข้าถึงเท่าเทียมทางเพศ LGBTIQ I อ.ณัฐวุฒิ EI
ล่าสุด รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา อาจารย์ประจำ สาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ วิภาวดีรังสิต เสนอข้อแนะนำการจัดการสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 อย่างไรไม่ให้เกิดความรุนแรงกับทุกเพศ ร่วมถึงกลุ่ม LGBTIQ ให้เหมาะสมและเท่าเทียม ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้นมีพลังที่มากกว่าการทำลายเรื่องสุขภาพและสาธารณสุข ณ เวลานี้ นานาประเทศรวมทั้งประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายในเชิงการจัดการนโยบายทางสังคม เศรษฐกิจ และ ทรัพยากรเพื่อให้ประชาชนไปต่อได้
ส่วนตัวของอาจารย์ได้ทำงานทางวิชาการในสาขาการจัดการด้านความหลากหลายและความเท่าเทียมระหว่างเพศทั้งในองค์กรธุรกิจ และ องค์กรภาครัฐทั้งในและต่างประเทศ และอาจารย์ยังดำรงตำแหน่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการวินิจฉัยความเหลื่อมล้ำทางเพศ จึงให้ความสำคัญกับการจัดสรรทรัพยากรในช่วงโรคระบาด COVID-19 ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อเพศที่แตกต่างกันทั้งชายหญิง โดยมุมมองจากงานวิจัยในองค์กรระหว่างประเทศอย่าง World Health Organization (WHO) และ World Economic Forum อาจารย์เสนอว่า เราควรศึกษากรณีศึกษาจากอดีต เช่น
การจัดสรรทรัพยากรในช่วงโรคระบาดอีโบล่าในประเทศกลุ่มแอฟริกา หรือ ซารส์ในเอเชียตะวันออก พบว่า
1. เพศเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดสรรทรัพยากรในช่วงโรคระบาดโรคอีโบล่า โดยเฉพาะการการจัดสรรทรัพยากรระหว่างภาครัฐกับประชาชน และ ภาคเอกชนกับประชาชน เนื่องจากมนุษย์ต้องมองหาของทรัพยากรเพื่อความอยู่รอด เราทุกคนต่างรู้ดีว่าทรัพยากรบนโลกล้วนแล้วแต่มีข้อจำกัด ปัจจุบันการใช้ทรัพยากรบนโลกใบนี้เกิดความสับสนในเรื่องการจัดการ
2. กระบวนการการจัดการทางด้านนโยบายของภาครัฐ เช่น นโยบาย Social Distancing นโยบายนี้จำเป็นมาก แต่มันจะมาพร้อมกับความเครียดของประชาชนและการสื่อสารระหว่างคนก็เปลี่ยนไป ในงานวิจัยพบว่าความเครียดต่อนโยบายสังคมในระดับมหภาค มักจะนำไปสู่การแสดงออกถึงความรุนแรง หนึ่งในนั้นคือ ความรุนแรงทางเพศระหว่างกลุ่มคน การเข้าถึงทรัพยากรที่มีความไม่แน่นอน ก็เป็นการเร่งเร้า โดยเฉพาะความรุนแรงในครอบครัวระหว่างชายหญิงได้
ซึ่งประเด็นนี้นั้นถือเป็นประเด็นใหญ่มาก เนื่องจากบทบาททางสังคมของชายและหญิงมีความแตกต่างกันและในรายละเอียดประเทศเช่น ในหลายสังคม รวมทั้งเมืองไทยผู้หญิงส่วนใหญ่ มักทำหน้าที่ดูแลรักษาเปรียบเหมือนคุณแม่ในครอบครัว ดังนั้นกลุ่มผู้หญิงจึงมีความสุ่มเสี่ยงในแง่ของการได้รับเชื้อและเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการติดโรคระบาดมากกว่าผู้ชายถึงแม้ว่าผู้ชายเองนั้นจะมีความเสี่ยงในแง่ของพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสียงมากกว่าผู้หญิง
นอกจากนี้ พบว่ากลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ บางครั้งมีความเสี่ยงต่อโรคค่อนข้างสูงเนื่องจากการถูกกดทับในระบบสาธารณสุขและการโดนเลือกปฏิบัติทำให้การเข้าถึงบริการภาครัฐเป็นเรื่องไม่ง่าย นอกจากนี้จากสถิติระดับการสูบบุหรี่หรือการใช้สารเคมีเพื่อความบันเทิงต่างๆซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของกลุ่ม LGBTIQ มีแนวโน้มสูงขึ้นมากกว่า 50% หรือมากกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งจะส่งผลต่อการเข้าสู่กระบวนการรักษา
ประเด็นนี้แม้ว่าจะอยู่ในกลุ่มความหลากหลายทางเพศ กลุ่มคนชายขอบ และกลุ่มเด็กมีความยากลำบากในการเข้าถึง บริการสาธารณสุขน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ ซึ่งอาการของโรคดังกล่าวกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตมีลักษณะป่วยซ้อนป่วยซ้ำ. ทำให้เกิดอาการแพร่กระจายของโรคระบาดมากกว่าเดิม
การเข้าถึงทรัพยากรในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรส่วนใหญ่มักเป็นผู้ชาย เช่น การแถลงการณ์และการจัดการต่างๆในเชิงนโยบายสาธารณสุข การมีแต่ผู้ชายที่เป็นผู้นำกระทรวงหรือเป็นผู้ชายที่เป็นผู้นำรัฐบาลทั้งในแง่ของความเป็นผู้นำทางด้านสุขภาพ ในแง่ของความเป็นผู้นำของการแจกจ่ายทรัพยากรทั้งหมดทำให้เราขาดมุมมองการป้องกันโควิดของบุคคลกลุ่มอื่น. แม้แต่องค์กรระดับโลกอย่าง World Health Organization เช่นเดียวกัน
ในผลวิจัยระบุว่ามีเพียง 5%ของผู้นำขององค์กรด้านสาธารณสุขทั้งหมด เป็นเพศหญิงเท่านั้น ดังนั้นการจัดสรรทรัพยากรในช่วงโรคระบาดเพื่อเพศหญิงหรือกลุ่มหลากหลายทางเพศก็น้อยลงไปด้วยมัน ทำให้เกิดความซับซ้อนในการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นในปัจจุบัน
นอกจากปัญหาเรื่อง การเข้าถึงทรัพยากรโดยเฉพาะเรื่องระบาดของโรคCOVID-19 กำลังแพร่ขยายออกไปจากตัวเมืองสู่ต่างจังหวัด ซึ่งเพศชายจะมีบทบาท และอำนาจในการจัดสรรทรัพยากรมากกว่าสังคมเมือง
เมื่อลองฉายภาพเปรียบเทียบเหตุการณ์กับประเทศที่ประสบปัญหาแนวโรคอีโบล่ามาก่อนนั้นหรือโรคซารส์ในช่วงกลางของวิกฤติคือการระบาดในวงกว้างถ้าไม่มีการจัดการทรัพยากรที่ดีโดยเฉพาะการใช้สถิติประชากรต่างๆ
จะไม่สามารถจัดการเรื่องของอาหารและยารักษาโรค
เหตุการณ์จะพัฒนากลายเป็นเรื่องของอำนาจระหว่างเพศ
อย่างประเทศเซียร์ราลีโอน ในหลายกรณีนั้นผู้หญิงมักจะต้องยอมร่วมเพศหลับนอนกับผู้ชายเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งอาหารหรือยารักษาโรค ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้อาจารย์คิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นในประเทศไทยแต่ให้เราดูว่าเป็นเพียงตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ
ซึ่งกรณีโรคระบาดนี้ อาจารย์อยากให้เปรียบเหมือนสภาวะสงคราม โดยเฉพาะการเข้าถึงยารักษาโรค เรื่องอาหารและการเข้าถึงบริการต่างๆทั้งเรื่อง Gender- Based Violence and Sexual-Based Violence ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก
สุดท้ายเรื่องการบริหารจัดการอำนาจจากภาครัฐต่อการจัดการทรัพยากร ทางทฤษฎีโดยเฉพาะในเรื่องของการผลิตทรัพยากร ซึ่งทางรัฐบาลเองมักจะละเลยกลุ่มคนผู้พิการ กลุ่มคนชายขอบ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ไม่สามารถพูดภาษาไทยเป็นภาษากลางได้ ร่วมถึงแรงงานข้ามชาติ ซึ่งกลุ่มเหล่านี้นั้นกำลังตกค้างอยู่ในประเทศไทย คนเหล่านี้มักลืมในระบบ ซึ่งทางภาครัฐจะต้องมองภาพรวมทั้งระบบ
วิธีการในการจัดสรรทรัพยากรในช่วงโรคระบาด COVID-19
1. การจัดการเรื่องของความปลอดภัย การเข้าถึงยารักษาโรคและอาหารที่มีคุณภาพ ซึ่งหากเราดูจากบทเรียนจากบทเรียนประเทศในกลุ่มประเทศแอฟริกาและการจัดการโรคระบาดที่เกี่ยวข้องกับไข้หวัดนก รัฐบาลนั้นจะต้องแจกจ่ายอาหารที่ดีให้กับกลุ่มคนต่างๆหรือผ่านหัวหน้าของผู้นำชุมชน โดยทางผู้นำชุมชนจะต้องจัดสรรอาหารให้กับกลุ่มที่มีความต้องการมากที่สุดก่อน โดยร่วมกับดูแผนที่ทางภูมิศาสตร์
เมื่อผู้ป่วยได้รับอาหารที่ดีก็จะส่งผลให้ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและต่อสู้กับโรคร้ายได้ และหากติดเชื้อโรคที่ร้ายแรงไปแล้วแล้วรักษาหายการฟื้นฟูร่างกายได้รวดเร็วขึ้น
2. การแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะการจัดสรรและการเข้าถึงทรัพยากรอย่างเป็นธรรมสำหรับทุกคน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เร่งด่วนที่รัฐบาลนั้นจะต้องให้ความสำคัญ ซึ่งรัฐบาลนั้นต้องมองประชาชนด้วยความเข้าใจทุกกลุ่ม เป็นเรื่องของการให้ความสำคัญซึ่งทางอาจารย์เรียกร้องให้ภาครัฐตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวนั้นเพิ่มมากขึ้น
อย่างประเทศเซียร์ราลีโอน ในหลายกรณีนั้นผู้หญิงมักจะต้องยอมร่วมเพศหลับนอนกับผู้ชายเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งอาหารหรือยารักษาโรค ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้อาจารย์คิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นในประเทศไทยแต่ให้เราดูว่าเป็นเพียงตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ
ซึ่งกรณีโรคระบาดนี้ อาจารย์อยากให้เปรียบเหมือนสภาวะสงคราม โดยเฉพาะการเข้าถึงยารักษาโรค เรื่องอาหารและการเข้าถึงบริการต่างๆทั้งเรื่อง Gender- Based Violence and Sexual-Based Violence ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก
สุดท้ายเรื่องการบริหารจัดการอำนาจจากภาครัฐต่อการจัดการทรัพยากร ทางทฤษฎีโดยเฉพาะในเรื่องของการผลิตทรัพยากร ซึ่งทางรัฐบาลเองมักจะละเลยกลุ่มคนผู้พิการ กลุ่มคนชายขอบ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ไม่สามารถพูดภาษาไทยเป็นภาษากลางได้ ร่วมถึงแรงงานข้ามชาติ ซึ่งกลุ่มเหล่านี้นั้นกำลังตกค้างอยู่ในประเทศไทย คนเหล่านี้มักลืมในระบบ ซึ่งทางภาครัฐจะต้องมองภาพรวมทั้งระบบ
วิธีการในการจัดสรรทรัพยากรในช่วงโรคระบาด COVID-19
1. การจัดการเรื่องของความปลอดภัย การเข้าถึงยารักษาโรคและอาหารที่มีคุณภาพ ซึ่งหากเราดูจากบทเรียนจากบทเรียนประเทศในกลุ่มประเทศแอฟริกาและการจัดการโรคระบาดที่เกี่ยวข้องกับไข้หวัดนก รัฐบาลนั้นจะต้องแจกจ่ายอาหารที่ดีให้กับกลุ่มคนต่างๆหรือผ่านหัวหน้าของผู้นำชุมชน โดยทางผู้นำชุมชนจะต้องจัดสรรอาหารให้กับกลุ่มที่มีความต้องการมากที่สุดก่อน โดยร่วมกับดูแผนที่ทางภูมิศาสตร์
เมื่อผู้ป่วยได้รับอาหารที่ดีก็จะส่งผลให้ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและต่อสู้กับโรคร้ายได้ และหากติดเชื้อโรคที่ร้ายแรงไปแล้วแล้วรักษาหายการฟื้นฟูร่างกายได้รวดเร็วขึ้น
2. การแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะการจัดสรรและการเข้าถึงทรัพยากรอย่างเป็นธรรมสำหรับทุกคน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เร่งด่วนที่รัฐบาลนั้นจะต้องให้ความสำคัญ ซึ่งรัฐบาลนั้นต้องมองประชาชนด้วยความเข้าใจทุกกลุ่ม เป็นเรื่องของการให้ความสำคัญซึ่งทางอาจารย์เรียกร้องให้ภาครัฐตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวนั้นเพิ่มมากขึ้น
___________________________________________________________
#โอกาสทางอาชีพ “ตัวจริง” ขององค์กร สมัครด่วนเรียน ป.โท -ป.เอก วิทยาลัยการจัดการ #มหาวิทยาลัยมหิดล – #อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ #วิภาวดีรังสิต พร้อมโอกาสเรียนจบภายใน 18 เดือน
🎯🎯ฝึกการสร้าง BRAND และพัฒนาสินค้าบริการ Digital Marketing Strategic Planner การเงิน HR กลยุทธ์ ผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร และ Innovative Startup เพื่อให้พร้อมเป็นผู้บริหารมืออาชีพหรือผู้ประกอบการในยุค Disruption
.
อย่ารอโอกาส...ยุคเศรษฐกิจถดถอย เราต้องตื่นตัวและมีความพร้อมอยู่เสมอ เพื่อให้คุณเป็น “ตัวจริง” ขององค์กร พร้อมยืนหยัด สู้ทุกสถานการณ์ในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ การเลือกศึกษาต่อกับสถาบันที่ได้รับการันตีคุณภาพหลักสูตรจากหน่วยงานรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีระดับนานาชาติ (AACSB) จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม
.
เปิดรับสมัครวันนี้ – 25 พฤษภาคม 2563
สมัครเข้าศึกษาฯ 👉 https://rebrand.ly/CMMUonlineapplicationApril2020
ข้อมูลเพิ่มเติมหลักสูตรไทย 👉https://rebrand.ly/CMMUThaiProgramApril2020
Many thanks krub.
ReplyDeletehttps://twitter.com/peepzii/status/1250206689703260160?s=19
ReplyDelete