Ads Top

Strategic Foresight สิ่งสำคัญกับเรื่องการบริหารความเสี่ยงในระดับองค์กร ป้องกันเรื่องร้ายด้านเศรษฐกิจระดับประเทศ I CMMU Mahidol



ล่าสุด อ.ดร.ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช อาจารย์ประจำสาขาการจัดการและกลยุทธ์ ( MS ) วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ วิภาวดีรังสิต เกี่ยวข้องกับ Strategic Foresight เป็นสิ่งที่สำคัญกับการบริหารความเสี่ยง ที่จะทำอย่างไรให้คนคนในองค์กรทุกส่วนต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว โดยอาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดดังต่อไปนี้





สำหรับ Foresight
มักจะถูกใช้ในระดับนโยบายแต่ในช่วงหลังในระดับองค์กรได้มีการนำเรื่องดังกล่าวมาใช้เพิ่มมากขึ้น โดยหัวข้อจริงๆที่เค้าใช้กันนั้นคือ Strategic Foresight สิ่งที่สำคัญของเรื่องนี้การบริหารความเสี่ยง แต่จริงๆเรื่องนี้เป็นมุมมองในเรื่องของความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การมองในระยะ 5 ปี 10 ปี หากเรามองไปไกลมากไปกว่านั้นมันคือเหตุการณ์ในอนาคต

หลายครั้งก็ไม่เป็นอย่างที่จะเกิดอย่างใน 10 ปีข้างหน้า บางอย่างอาจจะไม่เกิดขึ้น บางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมันอาจส่งผลกระทบแต่กลับเลิกไปในบางสถานการณ์
ก็มี

สำหรับประเด็น Foresight เมื่อเวลาเราคุยถึงข้อมูลและเหตุผลเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นเป็นตัวต้นทางที่เราจะย้อนถามว่าจะเป็นเรื่องอะไร

1. หากเกิดขึ้นจริงจะเตรียมตัวอย่างไร
2.
ถ้าไม่เกิดขึ้นเลยจะวางแผนจัดการอย่างไร


ภาพของเหตุการณ์ต่างๆเราคือการคุยกันในเชิงเหตุและผล

หลายหลายครั้งเวลาที่เราพูดถึง Foresight ของธุรกิจกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภัยธรรมชาติหรือเป็นโรคระบาดมันเป็นเรื่องที่เราพูดกันมาเป็นระยะเวลายาวนานมากเพียงแต่ว่าคนที่คุยเรื่องนี้ได้นำสิ่งที่เขากังวล...ว่ามันจะเกิดขึ้นในอนาคตและส่งผลกระทบต่อองค์กรแล้วมาคุยกับคนภายในองค์กร

ปัญหา....คือ....โครงสร้างในช่วงการทำงานทั้งความคิดก็คือคนคิดและส่วนคนที่ทำงานก็สนใจงานที่ทำเท่านั้น เช่น การสนใจตาม KPI


เพราะฉะนั้นให้เวลาเค้าทำงานจริงๆเราก็จะพูดถึงคำว่า Strategic Foresight.

ซึ่งดูเหมือนจะแยกส่วนในการทำงาน ระหว่างคนที่หาข้อมูลในอนาคตกับคนที่ทำงานรายวัน ภาพของการที่จะทำให้คนตระหนักแล้วค่อยๆเตรียมตัวร่วมกันกับคนในองค์กรมันเลยไม่ค่อยมี


คราวนี้เวลาเราพูดถึง Foresight จะต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง อยากเหตุการณ์ COVID-19 ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจหรือโรค ซาร์สที่เราคุ้นกัน ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิวัฒนาการของโรคระบาดทำให้เชื้อโรคมีความสามารถเรียนรู้ในสิ่งใหม่ โดยตัวของมันมีความอดทนที่จะสามารถรับเชื้อได้

สมัยก่อนนักวางแผนได้มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องโรคระบาดจะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจขนาดไหน? เราจะต้องมองถึงความสำคัญ คือ บุคคลนั้นคือใคร และ องค์กรนั้นคือใคร.

จุดสำคัญคือหากเรื่องนั้นไม่ได้มีผลกระทบกับเราจะมองว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ เช่น เรื่องบางเรื่องจะแยกกับการท่องเที่ยวเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเราก็จะไม่โดน เช่น หากนักท่องเที่ยวเดินทางไปได้ผลกระทบก็ไม่ได้โดน เราซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องของเขาที่ไม่สามารถทำมาหากินได้

ซึ่งในอดีตคือการมองเฉพาะกลุ่มเท่านั้น

สิ่งที่เราไม่ได้ตั้งคำถามต่อไปนั่น คือ จะเป็นไปได้ไหมที่เรื่องร้ายเหล่านี้จะส่งผลกระทบกับเราด้วย กรณีนี้เราไม่ได้ใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ. Strategic Foresight เข้ามาบูรณาการและคุย


เรื่องต่อมาเราไม่ค่อยคุ้นชินเกี่ยวกับการมองภาเกี่ยวกับเรื่องบริบท เช่นผลกระทบที่นักท่องเที่ยวจีนที่เป็นแหล่งระบาดหนัก คนจีนเดินทางไปทั่วโลกหากเรามองในมุมมองที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพึ่งพานักท่องเที่ยว กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบที่มีความเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและรายได้ที่ดีเราเคยคุยกับตรงนี้หรือไม่


อย่างในสแกนดิเนเวียซึ่งเป็นเรื่องนักท่องเที่ยวเหมือนกันก็พูดเหมือนกันหมด ซึ่งสิ่งที่เราไม่ได้นำไปคุย เช่น การเกิดเรื่องร้ายแล้วจำนวนคนที่เรากำลังพึ่งพาในระบบเศรษฐกิจเข้าประเทศไม่ได้  นำมาซึ่งเศรษฐกิจที่ดีอย่างเดียวแต่เค้าก็นำพาผลกระทบในเชิงสุขภาพเป็นไปได้หรือไม่ เช่น โรคระบาดไข้หวัดนกเรื่องเหล่านี้เราจะต้องมอนิเตอร์


ซึ่งบทเรียนในอดีตที่เราได้เจอเราไม่ได้หยิบมันขึ้นมามอง

บทเรียนในอดีตที่เรานั้นหยิบขึ้นมามอง เราไม่สามารถที่จะหยิบเพียงเรื่องเดียวนำมาวิเคราะห์ได้ เช่น เรื่องเหตุการณ์ของไข้หวัดนกเราจะต้องดูรูปแบบอื่นๆอีกด้วย. หากเศรษฐกิจเติบโตการแพร่ระบาดของโรคจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งจะมีผลอย่างมากเกี่ยวกับปัจจัยทางเศรษฐกิจเราจะต้องมามอง

นอกจากนี้เราเรื่องของปัจจัยสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เมื่อสภาวะของสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปสิ่งแวดล้อมนั้นจะกระทบกับสังคมอย่างไร ปัจุบันต้องมองถึงเรื่องของเทคโนโลยีในมุมอื่น หากเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่อย่างไร

Strategic Foresight เราไม่สามารถที่จะมองแยกเป็นชิ้นๆ ได้เพราะเขาจะต้องมองถึงปัจจัยหลักๆร่วมกัน
เพราะบางเรื่องไม่สามารถที่จะมองได้ว่ามันเกิดเหตุจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง มันยังมีเทรนของปัจจัยนั้น  เทรนก็จะนำไปสู่การเกิดเรื่องใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างที่เรา ยกตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องCOVID-19 ในตอนนี้นักท่องเที่ยวจีนมาเยอะก็จะกระจายตัวเยอะ


ซึ่งเราจะต้องถามว่าแต่ก่อนหน้านี้มีการแพร่ระบาดของโรคมากขนาดนี้หรือไม่คำตอบก็คือ....มี


การเดินทางจากกลุ่มคนอื่น เช่น คนที่มาจาก South Africa
พูดแล้วคนก็กลัวซึ่งคนผิวดำขึ้นเครื่องบิน เราก็ไม่รู้เลยว่าจะเป็นคน South Africaจริงหรือเปล่าซึ่ งทำให้คนกลัวว่าโรคซาร์ส หรือ โรคเมอร์สติดตามพวกเขามาด้วย

นี่คือความกังวลที่เกิดขึ้นจริง
ภาพนี้ก็เลยถูกขยายความในมุมมองของโรค COVID-19 ทำให้ช่วงที่ผ่านมาคนทั่วโลกมองคนจีนอาจส่งผลกระทบต่อเรื่องอื่นๆ

ความน่าสนใจอีกกรณี 1. ความตระหนักที่เกิดจากโซเชียลมีเดียและข่าวที่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อก่อนเราก็ไม่ได้กังวลเยอะมากขนาดนี้เพราะเราไม่ได้เสพข่าวที่จะเห็นพร้อมกันได้ทั่วโล กเรายังไม่มี Twitter Account หรือเราไม่มี Instagram และถ่ายภาพระบุถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  ดังนั้นการเรียนรู้ในระดับบุคคลก็น้อยเมื่อเราเห็นภาพมากขึ้นความวิตกจริตของเราก็เพิ่มสูงขึ้น


ในขณะเดียวกันความวิตกจริตของโซเชียลมีเดีย ทำให้เราไม่ได้รับข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ HEALTHCARE โดยตรง เช่น จริงๆมันก็คือโรคหวัดเราควรที่จะทำตัวให้แข็งแรงมีความพร้อมที่จะติดเชื้อเพื่อที่หากเราได้รับเชื้อก็จะหายป่วยได้เร็ว

หากคุณเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบกับโรคปอดและโรคทางเดินหายใจจำเป็นที่จะต้องให้ความใส่ใจกับตนเองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งภาพดังกล่าวนั้นกลับกลายมาเป็นภาพที่มาทีหลังของการที่จะต้องเตรียมการในการเตรียมตัว


อย่างมุมมองที่เกิดขึ้นจะมีอยู่ประมาณสองมุมนั่นคือมุมมองสำหรับคนที่รู้เยอะอย่าง เช่น รัฐบาลอาจตอบว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่ใหญ่โตและไม่น่าจะส่งผลกระทบมากนัก โดยมุมมองดังกล่าวก็เป็นมุมมองที่ไม่แปลกมากนัก เนื่องจากพวกเขาอาจจะไม่มีข้อมูลว่าบุคคลของเราที่เป็นคนกลุ่มเสี่ยง และคนกลุ่มเสี่ยงอยู่ที่ไหนบ้าง...เราจะต้องเฝ้าระวังเพราะขาด 2 มุมที่จะทำให้เรา เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันมันจึงอาจเกิดข้อผิดพลาดในการเตรียมการ

หลักเดียวกันกับหลักของ Strategic Foresight คือเราจะต้องมองข้อมูลในหลายมิติจากคนที่แตกต่างกันนำมาผสมรวมกันและสังเคราะห์ดูว่าผลกระทบจากไปยังมิติใดบ้าง

และนี่คือการแชร์หลักคิดง่ายว่าต่อจากนี้ไปจะต้องใช้บทเรียนของการเกิด  COVID-19 แล้วดูซิว่าอีก 3 ปี หรือ 5 ปี ข้างหน้าโอกาสที่จะเกิดผลกระทบใหม่จะมีอะไรบ้างและจะต้องยึดๆโยงเกี่ยวข้องกับการเดินทาง รวมถึงพฤติกรรมคนที่เปลี่ยนไปอย่าง New Normal ที่เค้าใช้กัน


เป็นไปได้หรือไม่….ที่การใช้โซเชียลมีเดียจะปรับให้จากการที่เราตระหนักและตระหนกมามาเป็นการสนใจในการเตรียมตัว....เพื่อการป้องกันโรคในอนาคต หากเราสนใจในมุมพวกนี้ในอนาคตเราก็จะเห็นภาพในอนาคตที่แตกต่างไป  มันอาจจะไม่ได้เกิดกับ New Normal ที่เป็นพฤติกรรมใหม่ที่ควรจะฟัง


แม้ว่าเราจะบอกว่ามนุษย์จะต้องอยู่ห่างกันแต่สุดท้ายมนุษย์จะต้องอยู่ใกล้ชิดกันเช่นเดิม เนื่องจากเราเป็นสัตว์สังคม มนุษย์ต้องการได้รับประสบการณ์ใหม่และต้องการที่จะออกไปสู่ข้างนอก

No comments:

Powered by Blogger.