Ads Top

ปรับธุรกิจด่วน ก่อน COVID-19 ทำร้าย ด้วยเคล็ดลับ ABCD #HowToManage ธุรกิจในช่วงวิกฤต I CMMU Mahidol




ล่าสุด ดร. สุภรักษ์ สุริยันเกียรติแก้ว หัวหน้าสาขาการจัดการธุรกิจและสาขาทุนมนุษย์และการจัดการองค์กรจาก วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) แนะวิธีการแก้ไขที่จะทำให้องค์กรธุรกิจรอดวิกฤตเศรษฐกิจ ไวรัส COVID-19 ในครั้งนี้โดยอาศัยหลักการบริหารจัดการด้วย ABCD #HowTo Manage ธุรกิจในช่วงวิกฤตเพื่อ การบริหารจัดการในช่วงวกิฤต ด้วย การปรับธุรกิจ ด้วย 3A + การปรับแผน ด้วย 2B + การบริหารจัดการด้วยสมองและหัวใจ ด้วย 2C + การปรับตัว ด้วย 1D ซึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้


สำหรับแนวทางในการบริหารจัดการในช่วงวิกฤตไวรัส COVID-19 มาแชร์ABCDเคล็ดลับ #HowToManage ธุรกิจในช่วงวิกฤต เพื่อให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดีและเสริม #ความรู้ความเข้าใจที่ต้องมี ให้ธุรกิจสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

ในตอนนี้คำถามที่สำคัญของผู้นำผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจ คือ ควรจะบริหารจัดการธุรกิจอย่างไรให้อยู่รอดและสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องได้ให้เร็วที่สุด

- A : สำหรับตัวแรก A ผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจที่ต้องคำนึงถึง คือ
- การปรับธุรกิจ ด้วย 3A – Agility ความคล่องแคล่ว/ว่องไว & Adaptability ความสามารถในการปรับตัว & Analysis ความสามารถในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์

ขอเสนอ 3A สำคัญ ที่ธุรกิจควรมี Agility และ Adaptability หมายถึง การที่ธุรกิจควรมีความความคล่องแคล่ว/ว่องไว ในปรับตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยหลักการและเหตุผล ตามความเป็นจริงของสถานการณ์และมีความสามารถในการปรับธุรกิจ ปรับองค์กร ปรับแผน ปรับวิธีการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ตอบโจทย์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเฉียบคมและฉับไว ที่สำคัญธุรกิจควรทำ Analysis เพื่อวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ ( assess, analyze & monitor) ปัจจัยภายนอกและภายในองค์กรอย่าง รอบคอบทุกวัน ควรใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์พยากรณ์แนวโน้ม หรือ Scenario Analysis และการใช้เทคนิคการชี้บ่งอันตรายหรือ what-if Analysis รวมทงั้การวิเคราะห์ความเสี่ยง(risk analysis) ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจโดยรวม ปัจจุบันและอาจจะเกิดขึ้นอนาคตอันใกล้ ( now & near-term ) การวิเคราะห์เหตุการณ์และความเสี่ยงนี้ จะช่วยให้ผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจมองภาพทั้งใกล้-ไกลได้ชัดเจนมากขึ้นเราสามารถจะประเมินและคำนวณความเป็นไปได้ของสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับธุรกิจเพื่อประเมินว่าจากนี้ต่อไปต้องด าเนินการอย ่างไรในกรณีที่ดีที่สุด (Best Case)กรณีปกติ (Base Case)หรือกรณีแย่ที่สุด (Worst Case) เพื่อจะได้วางกลยุทธ์เพื่อจะรุกหรือตงั้รับใหเ้หมาะสม เพราะฉะนนั้การปรับธุรกิจ ด้วย 3A อาศัยวิสัยทัศน์ (vision) ของผู้นำและเป็นหน้าที่ของผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจที่จะต้องตัดสินใจอย่างเด็ดขาดและเร่งด่วน

- B: สำหรับข้อสองตัว B ผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจต้องเน้นการปรับแผนโดยคำนึงถึงคือ
- การปรับแผนด้วย 2B – Business continuity plan แผนสำรองทางธุรกิจ & Business model
redesign การปรับดีไซน์รูปแบบธุรกิจใหม่

1. ในส่วนของ B แรก ธุรกิจจำเป็นต้องมี Business continuity plan หรือ ใช้แผนสำรอง ที่สามารถรองรับสภาวะฉุกเฉินทั้งในแง่กลยุทธ์ Strategy และการปฏิบัติงาน operational action อย่างรวดเร็วเช่น การปรับการทา งานทั้งการบริหารธุรกิจผ่านทาง internet มากขึ้นในช่วงวิกฤตหรือการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholders) ทงั้พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า เช่น จัดให้มีการประชุมทางไกล (conference meeting) มีการupdate/monitor เหตุการณ์รายวันหรือการจัดให้มีนโยบายอนุญาตทำงานที่บ้าน (WORK FROM HOME) ของพนักงาน

2. B ที่สอง คือ Business model redesign หรือการที่ธุรกิจต้องปรับดีไซน์รูปแบบธุรกิจใหม่ที่ตอบโจทย์ธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปหรือ หา solution มาช่วยแก ้ปัญหาวิกฤตทางสังคม หรือ pain points ของลูกค้า เช่น การปรับรูปแบบการ ซื้อขายสินค้าในช่วง การเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing)ด้วยความคิดสร้างสรรค์(creativity) มีความแตกต่างจากรูปแบบเดิมๆที่เคยทำหรือการปรับธุรกิจไปใช้รูปแบบ platform ใหม่เช่น e-commerce/ e-business หรือการผสมผสานระหว่างธุรกิจแบบ offline-to-online (O2O)คือ นำธุรกิจแบบมีหน้าร้านอย่างเดียว (offline)ไปทำธุรกิจ online และ เพิ่มช่องทางการตลาดในchannelอื่นๆ ผ่าน social media (Facebook, IG, website ต่างๆ) และเน้นการส่งสินค้า/บริการแบบ delivery เพื่อเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้ามากขึ้น ต้องพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส


- C: สำหรับข้อสามตัว C ผู้บริหารและเจ้าต้องบริหารจัดการด้วยสมองและหัวใจ ด้วย 2C (crisis & change management + compassionate business) โดยคำนึงถึง

- การปรับสมองและหัวใจ ด้วย 2C
1. ในส่วนของการปรับสมองในการบริหารนั้นควรเน้นการจัดการวิกฤตและการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบและเร่งด่วนหรือ crisis & change management โดยอาจตงั้ทีมงานของผู้บริหาร/ผู้รับผิดชอบหลัก หรือ key man เป็นคณะทำงาน ที่เรียกว่า “crisis & change team”และมีตั้ง war room เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการเชิงรุก ทั้งด้านกลยุทธ์(strategy)การเงิน (finance) บุคลากร (HR)การตลาดและการสื่อสาร ( Marketing & Communication ) ให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีมีระบบประสิทธิภาพ และเอกภาพร่วมกัน เช่น การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ การประเมินสถานการณ์การประมาณการ (forecast) การจัดการเชิงปฏิบัติการการประสานงาน และ การสื่อสารจากทีมงานโดยตรงจากแหล่งเดียวเพื่อลดความเสี่ยงและความเข้าใจผิด นอกจากนี้นี้ธุรกิจจำเป็ นต้องมีการจัดการการเปลี่ยนแปลง (change management) โดยการน าของทีม “crisis & change team” มีการประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ตลอด

ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจผู้บริหาร/ผู้รับผิดชอบต้องคำนึงถึง core competency & capacity จุดแข็งและความสามารถขององค์กรเพื่อจะได้ดูศักยภาพ ความสามารถและความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจและสามารถตอบคำถามให้สอดคล้องกับปัญหาที่พบในช่วงวิกฤตนี้โดยอาจตั้งคำถาม ( critical questioning) ว่า…
-ตอนนี้ธุรกิจเราทำอะไรได้บ้าง -ทำได้มากน้อยแค่ไหน -ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแล้วมีผลกระทบกับอะไร/ใครบ้าง -มีความพร้อมที่จะเปลี่ยนมากน้อยแค่ไหน –ใครต้องทำอะไร …. คำถามเหล่านี้ จะช่วยให้มองเหตุ & ผลได้รอบด้านหลากมิติคำถามเหล่านี้ก็จะช่วยให้เราเกิดปัญญา สามารถหา solutions แก้ปัญหาให้สอดคล้องก ับสถานการณ์ในด้านต่างๆที่พบในช่วงวิกฤตนี้ให้สามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

2. ในส่วนของหัวใจผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจต้องใช้ใจในการจัดการจำเป็นต้องบริหารด้วยความเมตตากรุณาและโอบอ้อมอารีย์(compassion) เนื่องจากในช่วงวิกฤตนี้ทุกธุรกิจและ มนุษย์ทุกคนจะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนจากโรคระบาด หลายคนอาจรู้สึกกังวล เครียด และกลัวไปต่างๆนานา เสถียรภาพในชีวิตที่เริ่มสั่นคลอน ความไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน และอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้น ในฐานะของผูน้า และผูบ้ริหารองค์กรจึงมีหน้าที่ในการแสดงภาวะผู้นำด้วยความโอบอ้อมอารีย์มีทัศนคติที่ดีคิดในแง่บวก(positive mindset) รู้สึกเข้าอกเข้าใจกัน (empathy) แบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ (stakeholders) ที่อาจไดร้ับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ตั้งแต่พนักงานลูกค้า คู่ค้า และชุมชนรอบๆบริษัท/โรงงานต่างๆ หากมีความจำเป็นในการปรับแผนธุรกิจก็ควรไตร่ตรองถึงผลกระทบและแผนในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบของคนเหล่านี้ด้วยเพราะการด าเนินธุรกิจให้เกิดสามารถอยู่รอดและเกิดความยั้งยืนนั้นจำเป็นที่เราอาศัยกฎการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน หรือ reciprocity และ business interdependency

- หากทุกธุรกิจในช่วงวิกฤตนี้บริหารจัดการด้วยความเมตตากรุณาด้วยความโอบอ้อมอารีย์ธุรกิจของคุณจะอยู่รอด ปลอดภัยและประสบความสำเร็จในระยะยาว

- อาจารย์มีตัวอย่างจะเล่าให้ฟัง เช่น ตอนนี้มีโรงแรม 5 ดาว/ร้านอาหารหรูต้องหยุดธุรกิจ แต่ยังไม่เลิกจ้างพนักงานโดยช่วยเหลือให้เชฟและพนักงานทาอาหารพรีเมี่ยมระดับโรงแรม 5 ดาว คิดเมนูอาหารใหม่ๆอร่อยๆในราคาที่ ไม่แพงให้ชุมชนรอบโรงแรม/ร้านอาหาร หรือลูกค้าที่ต้อง WFH หรืออยู่บ้านกักตัว ทงั้แบบ take-away รับ กลับบ้าน และส่ง delivery อาหารให้ลูกค้าผ่าน online/mobile application และ social media ต่างๆ แทนการปิ ดตัวของธุรกิจและการเลิกจ้าง บวกยังพอได้กำไรพอที่จะอยู่รอด และยังเปิดโอกาสให้ธุรกิจได้ทำการตลาดในช่องทางใหม่ๆ สุดท้ายธุรกิจก็สามารถผ่านพ นไปได้ด้วยดีทุกฝ่ายก็มีความหวังและความสุขพร้อมที่จะลุยต่อหากสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ

- D: D ตัวทีสี่ ผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจต้องด้วยปรับตัวด้วย 1D (Digital disruption &
transformation) โดยคำนึงถึง

- การปรับตัว ด้วย 1D สิ่งที่สำคัญสุดในสภาวะที่ธุรกิจถูกทำให้หยุดชะงักด้วยวิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสCOVID-19 คือ การปรับตัวเข้าสู่การดำเนินธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital disruption & transformation) วิกฤตไวรัส COVID19 เปรียบเสมือนปัจจัยหลัก (key driver) และเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (catalyst) ที่ทำให้เกิด disruption นี้อย่างรวดเร็วการ
ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินธุรกิจ digital business platform หรือ การ go online ไม่ใช่ตัวเลือกอีกต่อไป แต่กลายเป็นทางรอดของธุรกิจในช่วงวิกฤตและยุคปัจจุบัน รูปแบบการดำเนินธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วและจะไม่ใช่การทำธุรกิจแบบใหม่ หรือเรื่องไกลตัวอีกต่อไป Digital transformation เกิดขึ้นแล้ว now ตอนนี้จึงกลายเป็น new normal ที่ทุกองค์กรจำเป็นต้องทำให้ธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็น ดังนั้นทุกธุรกิจต้องเร่งปรับ สินค้า บริการและกระบวนการ
ทำงาน ที่ตอบโจทย์ตลาดและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

- ที่ผ่านมาเราอาจเคยได้ยินเรื่อง technological disruption ในด้านต่างๆ แต่คิดว่าเป็นเรื่องของทางเลือกในการทำธุรกิจในอนาคต เช่น การทำธุรกิจออนไลน์ (e-business / online business), การเป็นสังคมไร้เงินสด cashless society, การใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธรุกิจ/ในชีวิตประจำวัน IOT (internet-of-thing) และ การใช้หุ่นยนต์ (robotics)หรือ ปัญญาประดิษฐ์ AI (Artificial Intelligence)วันนี้เรื่องพวกนี้ไม่ใช่เรื่องใกลตัวอีกแล้ว

- ในช่วงวิกฤตนี้ พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปผู้บริโภคหลายคนอยู่บ้านมากขึ้นและไม่ต้องการออกไปข้างนอก เพราะกลัวติดเชื้อ COVID-19 จึงมีการสั่งซื้อของ shopping online มากขึ้นธุรกิจต่างๆจึงจำเป็นต้องมี digital platform เพื่อให้ลูกค้าเลือกดูสั่งซื้อขายของผ่าน online/mobile application หรือทาง website / social media ต่างๆ การจ่ายเงินก็ต้องผ่าน credit card หรือ digital currency มากขึ้นเพราะไม่มีใครอยากจับเงินสดเพราะกลัวติดเชื้อและต้องพึ่งพา application บริษัทขนส่ง (messenger/food delivery) เช่น grab, line man, food panda และอื่นๆ เพื่อความสะดวกสบาย

- วันนี้รูปแบบทางเลือกของการทำธุรกิจในอนาคตกำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน คำถามที่ทุกธุรกิจต้องตัดสินใจตอบ คือ จะสู้หรือหนี ( ฝรั่งเรียกว่า fight or flight ) หากองค์กรหรือธุรกิจใดไม่ปรับตัวก็อาจจะตามคนอื่นไม่ทัน หรืออาจจะไม่รอด แต่ถ้าคิดจะสู้ fight ก็ต้องปรับตัวให้ทัน

- โดยสรุป ธุรกิจจะสามารถอยู่รอด ปลอดภัยไม่เจ๊งและประสบความสำเร็จฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วจะต้องอาศัยหลักการบริหารจัดการด้วย ABCD #HowTo Manage ธุรกิจในช่วงวิกฤตเพื่อ การบริหารจัดการในช่วงวกิฤต ด้วย การปรับธุรกิจ ด้วย 3A + การปรับแผน ด้วย 2B + การบริหารจัดการด้วยสมองและหัวใจ ด้วย 2C + การปรับตัว ด้วย 1D

สุดท้าย อ. โอ๋ ขอให้ทุกท่าน มีกำลังกายที่สมบูรณ์กำลังใจที่เข็มแข็ง มีปัญญาสามารถปรับตัวด้วยการวิเคราะห์ มีหลักการและเหตุผลในการปรับแผนธุรกิจ และรู้จักนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้ให้เกิดประโยชน์… ขอให้อดทนสามารถฝ่าฟันกับความยากลำบากในช่วงวิกฤตนี้ไปให้ได้ ด้วยความรอบคอบ-ไม่ประมาทในการดำเนินธุรกิจรักษาคุณธรรม รู้จักเมตตากรุณาโอบอ้อมอารีย์ต่อกัน และสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เราจะผ่านพ้นช่วงวิกฤตไปด้วยกัน ด้วยความปรารถนาดีและโชคดีคะ จาก อ. โอ๋ ดร. สุภรักษ์ สุริยันเกียรติแก้วจาก วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)

No comments:

Powered by Blogger.