FAQ - สรุปประเด็นการเตรียมตัวให้พร้อมเข้าสู่รั้วนักบริหาร รูปแบบการเรียนการสอน การยื่นคะแนนสอบภาษาอังกฤษ ประสบการณ์ทำงาน I CMMU Mahidol
หลายคนยังมีข้อสงสัยของการในคำถามที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวเข้าสู่รั้ววิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาด้านการจัดการบริหารธุรกิจทั่วโลกได้การรับรองมาตรฐาน AACSB กับคำถามที่น่าสนใจมากมายทั้งรูปแบบการเรียนการสอน การยื่นคะแนนสอบภาษาอังกฤษ ประสบการณ์ทำงาน ทาง CMMU Mahidol จึงได้สรุปประเด็นต่างๆ ผ่านการสัมภาษณ์พี่ๆที่เกี่ยวข้อง นำโดยพี่เฉลิมศักดิ์ รัตนพนัง หัวหน้าสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตร หัวหน้าหน่วยรับเข้าศึกษาและทะเบียนและพี่ชนิษฐา เลิศเจริญพร นักวิชาการศึกษาอาวุโส ที่มาให้คำตอบโดยมีรายละเอียดต่อไปนี้
- สำหรับน้องๆ ที่เข้ามาสมัครจะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานหรือไม่
คำตอบ การที่ผู้สมัครมีประสบการณ์ในการทำงาน แล้วมาศึกษาระดับปริญญาโทถือว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะตอนสัมภาษณ์เพื่อเข้าศึกษา แต่โดยหลักเราไม่ได้กำหนด อย่างชัดเจนผู้สมัคร ที่เข้ามาสมัครจะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานล่วงหน้าเป็นจำนวนกี่ปี โดยทุกประสบการณ์ของการทำงานจะบอกอย่างชัดเจนเมื่อถึงเวลาที่น้องๆได้เข้าสัมภาษณ์
ทางอาจารย์ก็จะสัมภาษณ์เกี่ยวกับประวัติการทำงานว่าเคยทำอะไรมาบ้าง? ซึ่งเกี่ยวข้องกับสาขาที่สมัครหรือไม่ ตรงกับในอนาคตที่คุณจะได้นำไปใช้งานหรือไม่
- หากไม่มีประสบการณ์ในการทำงานก็สามารถสมัครเข้าเป็นนักศึกษาวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ซึ่งจะต้องยื่นคะแนนภาษาอังกฤษเข้ามาเพิ่มเติมใช่หรือไม่
คำตอบ ใช่ครับ
- ซึ่งมีคะแนนภาษาอังกฤษ ด้านไหนบ้างคะ
คำตอบ จริงๆก็มีอยู่ 4 ประเภท
หลักสูตรไทย
TOEFL ITP ต้องมีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 480 คะแนน
TOEFL IBT ต้องมีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 54 คะแนน
IELTS ต้องมีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 4.5 คะแนน
หลักสูตรนานาชาติ(อินเตอร์)
TOEFL ITP ต้องมีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 520 คะแนน
TOEFL IBT ต้องมีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 68 คะแนน
IELTS ต้องมีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 5.0 คะแนน
โดยผลการสอบส่วนใหญ่จะอยู่ได้ถึง 2ปี รวมถึงการสอบMU Grad Plus ที่ศาลายาหรือที่โรงพยาบาลศิริราชและส่วนสุดท้ายคือ IELTS การสอบดังกล่าวมีอายุ 2 ปี ถ้าน้องๆสอบทิ้งไว้ก่อนแล้วคะแนนถึงเกณฑ์น้องๆก็สามารถนำคะแนนดังกล่าวมายื่นได้ทันทีและที่สำคัญสามารถเลือกตัวที่ถนัดได้
- หากคะแนนยังไม่ผ่าน ทางวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถช่วยเหลือคำตอบ อะไรได้บ้างเช่นการจัดสอบเพื่อช่วยเหลือผู้สมัคร
คำตอบ โดยปกติการทางเรามีการจัดสอบอยู่แล้ว โดยผู้สมัครที่ยื่นคะแนนเข้ามาโดยเฉพาะผู้สมัครที่สอบแล้วแต่คะแนนไม่ถึง.
โดยปกติ หากผู้สมัครมีคะแนน TOEFL ITP อยู่ในระดับ 400 คะแนนขึ้นไป ก็มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ เมื่อทางวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล รับนักศึกษาเข้ามาแล้ว หากน้องนักศึกษายังมีคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ก็ต้องมีการเรียน Per Course ในขั้นถัดไป
ซึ่งน้องๆ ไม่ต้องตกใจไปหากคะแนนน้องๆ ไม่ถึงก็มีสิทธิ์ที่จะสามารถเข้ามาศึกษาต่อระดับปริญญาโท ที่วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล นั่นหมายความว่าหากน้องๆ ไม่ได้ยื่นคะแนนภาษาอังกฤษประเภท TOEFL ITP , TOEFL IBT , IELTS ทั้งหมดนี้สามารถนำผลการสอบมายื่นที่วิทยาลัยได้ นั่นหมายความว่าเราก็มีคะแนนขั้นต่ำเพื่อให้เราสามารถเข้าสัมภาษณ์
โดยปกติ หากนักศึกษามีคะแนนเกิน 400 คะแนนขึ้นไป ก็จะเรียกสัมภาษณ์ แต่ถ้าในกรณีที่ไม่ถึง 400 คะแนน ผู้สมัครบางส่วนก็จะถูกเรียกสัมภาษณ์เช่นเดียวกัน แต่สุดท้ายปลายทางเมื่อน้องๆได้เข้ามาศึกษาที่วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว น้องๆก็ต้องนำคะแนนมายื่นอีกครั้งหนึ่งให้ผ่านเกณฑ์ที่ทางวิทยาลัยกำหนด
- ซึ่งกระบวนการนี้จะต้องยื่นคะแนนสอบให้เสร็จก่อนเข้าเรียน อย่างนี้แต่ละสาขา แต่ละโปรแกรมทางวิทยาลัยการจัดการรับจำนวน นักศึกษาเป็นจำนวนเท่าไร
คำตอบ ในการจัดห้องเรียนโดยปกติทางวิทยาลัยการจัดการจะจัดเป็นห้องกรุ๊ปเล็กเพื่อให้ผู้สมัครและอาจารย์สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยแต่ละเมเจอร์ ส่วนมากจะไม่เกิน 30 คนต่อหนึ่งห้อง ถ้าเมเจอร์ไหนที่มีนักศึกษาจำนวนมากเราก็จะจัดห้องให้เหมาะสมกับนักศึกษาโดยดูจากคุณภาพมากกว่าจำนวน
นั่นหมายความว่าทางวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมรับนักศึกษาในภาคการเรียนนั้นนั้นให้นักศึกษามีโอกาสเท่าเทียม ตามความเหมาะสมโดยไม่ได้มองว่าจะต้องห้องละ 30 คน เพราะในบางครั้งบางสาขานักศึกษาอาจปรับเปลี่ยนแผนในการเข้าเรียนแต่ละเมเจอร์ดังนั้นตัวห้องเรียน ก็ต้องมีความยืดหยุ่น
- เนื่องจากประเทศไทยยังคงอยู่ในสภาวะเฝ้าระวังโรคระบาดโควิด-19 ทางวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดลจะมีการสอบสัมภาษณ์ในรูปแบบใด
คำตอบ โดยหลักในส่วนของการสัมภาษณ์เราคงยังยึดรูปแบบการสัมภาษณ์ออนไลน์ก่อนจนกว่าทางรัฐบาลได้ประกาศชัดเจนว่าประเทศไทยได้ผ่านพ้นช่วงโรคระบาดโควิด-19 เป็นที่เรียบร้อยซึ่งในขนาดนี้เรายังคงต้องเว้นระยะห่างกันอยู่
จากวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดลไม่ต้องการ เรียกสัมภาษณ์ภายในอาคารเนื่องจากความไม่เหมาะสมในช่วงสถานการณ์โรคระบาด ในขณะนี้และที่สำคัญเทคโนโลยีในปัจจุบันเราสามารถที่จะสัมภาษณ์ผ่านระบบออนไลน์ได้แล้ว ตอนนี้โดยรุ่นที่เปิดรับสมัคร ขณะนี้น่าจะยังคงเป็นการสัมภาษณ์ในรูปแบบออนไลน์ต่อไป
- ซึ่งต่อไปเป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับการเลือกเรียนในแต่ละสาขาซึ่งผู้สมัครสามารถที่จะเลือกเรียนในวันเสาร์-อาทิตย์ได้หรือไม่หากไม่สะดวกในการมาเรียนในวันธรรมดาน่าจะทุกคนต้องมีการ ทำงานไปควบคู่กัน
คำตอบ โดยปกติการเรียนการสอนจริงๆเราเรียนในรูปแบบ Part Time หาน้องๆที่ทำงานโดยปกติน่าจะเลิกงานในช่วงเวลา 17:00 น. เป็นต้นไปก็ยังสามารถมาเรียนในช่วงเวลา 18:00 น. ได้ซึ่งโดยห้องเรียนโดยปกติจะเริ่มในเวลา 18:00 น. เป็นต้นไปแต่มันก็ไม่ได้ทุกห้องเรียนที่จะเริ่มในเวลานี้บางห้องเรียนอาจเริ่ม 18:30 น. แล้วไปเลิกในเวลา 21:30 น. เป็นลักษณะนั้นซึ่งนักศึกษายังคงมีเวลาในการเดินทางเพื่อเข้ามายังวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้สมัครสามารถเรียนเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ได้หรือไม่
คำตอบ ทางวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจจะไม่สามารถจัดการเรียนการสอนในลักษณะนี้ได้ทุกๆเทอมน้องๆ อาจจะโชคดีที่ในแต่ละเทอมจะต้องเรียนอย่างน้อย 3 วิชาเช่นบางเทอมอาจจะได้เรียนในห้องเรียนทั้งวันเสาร์ในช่วงเวลาเช้าและช่วงเวลาบ่ายรวมถึงวันอาทิตย์เช้าจึงทำให้มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเรียนเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์เท่านั้นแต่ทางวิทยาลัยไม่ได้การันตีว่าน้องจะได้เรียนในลักษณะนี้ในทุกๆเทอมเพราะหลักคือ ทางวิทยาลัยส่วนใหญ่จะมีภาคธุรกิจมาสอนดังนั้นทางวิทยาลัยเองจะต้องคำนึงถึงอาจารย์ภายนอกที่มาเป็นวิทยากรและส่วนใหญ่เป็นวันธรรมดาตอนเย็น
สำหรับการจัดการเรียนการสอนทางวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดลเราเรียนกันแบบพาร์ทไทม์ถ้าน้องๆทำงานในรูปแบบปกติ เลิกงานในเวลา 17:00 น. หรือ 17:30 น. ก็ยังสามารถมาเรียนได้น่าจะหักคลาสเรียนในห้องเรียนนั้นเริ่มในเวลา 18:00 น. หรือ 18:30 น. แล้วปิดเลิกเรียนในเวลา 21:30 น.
เพราะฉะนั้นผู้สมัครยังพอมีเวลาอยู่
สำหรับการเรียนเฉพาะในวันเสาร์-อาทิตย์ อาจจะไม่มีลักษณะดังกล่าวในทุกๆเทอมน้องๆอาจจะโชคดีในเทอมนั้นที่จะมีเรียนสามวิชาเฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์เท่านั้น
แต่ทางวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดลไม่ได้การันตีว่าจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์เท่านั้นในทุกๆเทอม เนื่องจากวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล จะต้องใช้มืออาชีพจากภาคธุรกิจมาสอน
ดังนั้นเวลาที่เราจะเชิญคณะอาจารย์ดังกล่าวมาสอนส่วนใหญ่จะได้ในวันธรรมดา เช่น ในวันธรรมดาในช่วงเวลาตอนเย็น เป็นต้น
ดังนั้นขอตอบสรุปว่าไม่ได้ 100% แต่ในบางเทอมก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ที่จะให้มาเรียนในวันเสาร์อาทิตย์เท่านั้น
- ตลอดหลักสูตรใช้ระยะเวลาในกี่เทอมในการเรียนจบหลักสูตร สำหรับปริญญาโท
คำตอบ โดยหลักจะเรียนทั้งหมด 5 เทอม แต่หลังจากนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้สมัครจะสามารถทำวิทยานิพนธ์เพิ่มเติมหากเทียบเป็นจำนวนปีจะใช้ระยะเวลา 1ปี 8 เดือน
ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวไม่ถึง 2 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กระชับมาก
- สำหรับค่าใช้จ่ายของหลักสูตรไทยและหลักสูตรอินเตอร์เป็นอย่างไรบ้างแตกต่างกันเท่าไหร่
คำตอบ ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรภาคไทยก็จะประมาณ 301,500 บาท โดยแบ่งจ่ายเป็น 5 เทอม ส่วนค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรของภาคอินเตอร์ก็จะอยู่ประมาณ 430,000 บาทและแบ่งจ่ายเป็นค่าเทอมเช่นเดียวกัน
- สำหรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวสามารถแบ่งจ่ายได้ไหมครับ
คำตอบ โดยขณะนี้เรามีโปรโมชั่นของ SCB แบ่งจ่าย 0% นาน 3 เดือน โดยการใช้บัตรเครดิตของธนาคารไทยพาณิชย์ โดยสามารถแบ่งจ่ายที่วิทยาลัยการจัดการ
ถือว่าวิธีดังกล่าวสะดวกมาก สามารถใช้บัตรเครดิตในการชำระค่าเทอมได้ด้วยโดยไม่จำเป็นที่ต้องนำเงินสดมาที่วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล และที่สำคัญไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในการพกเงินสด แต่หากไม่ได้ใช้บัตรเครดิตของธนาคารไทยพานิชย์ก็ยังสามารถใช้บัตรเครดิตของธนาคารอื่นๆได้เช่นเดียวกัน
- สำหรับทุนการศึกษา ทางวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้จำนวนกี่ทุนและทางวิทยาลัยใช้เกณฑ์อะไรในการพิจารณาบ้าง
คำตอบ สำหรับทุนการศึกษาโดยปกติจะมีการจัดสรรเรื่องของทุนการศึกษาเป็นปกติอยู่แล้วโดยทุนการศึกษา วิทยาลัยจะแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. ประเภททุนการศึกษาเต็มจำนวน นอกจากค่าสมัครและค่าแรกเข้า ที่เหลือทางวิทยาลัยการจัดการ ออกค่าใช้จ่ายให้ศึกษาทั้งหมดเพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนได้ครบหลักสูตร
2. ประเภททุนการศึกษาแบบบางส่วน วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล จะให้เป็นจำนวน 50% ของค่าหน่วยกิต
ทางวิทยาลัยการจัดการ ไม่ได้กำหนดกฏเกณฑ์ที่ชัดเจนในเรื่องของจำนวนเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและความเหมาะสมของนักศึกษาที่ขอทุนมาแต่ละเทอมโดยคุณสมบัติหลักๆมันคือ ต้องเรียนดีและต้องมีความจำเป็นในการใช้เงินของวิทยาลัยการจัดการเพื่อที่จะสนับสนุนในการเรียนให้จบการศึกษาตลอดหลักสูตร
- สำหรับหลักสูตร Double Degree วิธีการเรียนเรียนอย่างไรและจะต้องเดินทางไปต่างประเทศจริงหรือเปล่ารวมถึงระยะเวลาในการเรียนยาวนานขนาดไหน
คำตอบ สำหรับ Double Degree ในแต่ละเมเจอร์ก็จะมีแยกออกไปอีกโดยรายละเอียดโดยสังเขปมีข้อมูลดังต่อไปนี้
หากนักศึกษาที่เรียนในโปรแกรมดังกล่าวจะต้องไปเรียนในต่างประเทศ เช่น การไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส นักศึกษาจะต้องเรียนที่ประเทศไทยอย่างน้อย 3 เทอมแล้วไปเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศสประมาณสองเทอมหรือครึ่งปีหลังจากนั้นก็เดินทางกลับมาที่ประเทศไทยเพื่อทำวิทยานิพนธ์อีกหนึ่งครั้งถึงจะเรียนจบการศึกษาซึ่งจะทำให้ได้รับสอง ใบปริญญา
สำหรับนักศึกษาที่ต้องการไปศึกษาต่อที่ประเทศออสเตรเลียจะต้องเรียน กลับวิทยาลัยการจัดการเป็นระยะเวลา 3 เทอมแล้วหลังจากนั้นก็กลับไปเรียนที่ออสเตรเลียเป็นจำนวน1 ปี
สำหรับรายละเอียดตารางการรับสมัครอื่นๆ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากหน้าเว็บ https://bit.ly/CMMUBatch23 สามารถติดต่อได้ที่ 02206 2000 ต่อ 5302 หรือ 5101 และช่องทางทาง Facebook ที่ CMMU Mahidol
No comments: