Ads Top

เปิดเผยเทคนิค... การลงทุนในประเทศจีน แนะวิธีการโอนกำไรกลับประเทศไทยทำอย่างไร I CMMU MS




ล่าสุดสาขาการจัดการและกลยุทธ์ ( MS ) วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU ได้เชิญ คุณตั้ม อิทธิชัย อรรถกระวีสุนทร, ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Level Up Holding Co., Ltd และที่ปรึกษาด้านการตลาดในประเทศจีน ในหัวข้อ (Strategic Redesign and Innovation for Future Busienss) มาถ่ายทอดประสบการณ์จากในเรื่องจากการการมองหากลุ่มลูกค้าของชาวจีนในกับปริญญาโท CMMU ทั้งเรื่อง การลงทุนในประเทศจีน แนะวิธีการโอนกำไรกลับประเทศไทยทำอย่างไร ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 การซื้อขายสินค้ากับประเทศจีนต้องผ่านกรมศุลกากร ซึ่งในอดีตนักลงทุนไทยมีปัญหาค่อนข้างเยอะ เช่น เครื่องสําอาง Mistine ระยะแรก สินค้าเข้าไปโดยการใช้กองทัพมด คือ เริ่มต้นจากกลุ่มลูกค้า Mistine ซื้อสินค้าเข้าไปในประเทศ โดยผู้ประกอบการเครื่องสําอาง Mistine ไม่ผิด เนื่องจากขายเฉพาะในประเทศไทย แต่คนนำเข้าไปผิดเพราะนำเข้าไปโดยไม่ถูกต้อง


ดังนั้น ทางผู้ประกอบการเครื่องสําอาง Mistine จึงได้ตัดสินใจเปิดบริษัทที่ประเทศจีน เพื่อนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยไปยังประเทศจีน โดยจะมีรถยนต์เหมาตู้ไปขาย ใช้ระยะเวลาในการขนส่งมากกว่า 1 เดือน  ส่งสินค้าตรงไปยังกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ยังมีช่องทางเรือและเครื่องบินอีกด้วย





ดังนั้นหากปริมาณสินค้าเพิ่มขึ้น เราควรดำเนินการจัดตั้งบริษัทที่ประเทศจีนให้เรียบร้อย เพื่อให้บริษัทดำเนินการนำเข้าให้ได้ถูกต้อง ตอนนี้ประเทศจีนมีพื้นที่ Cross Border Zone เพื่อเป็นพื้นที่ในการพักสินค้า โดยที่สินค้าทั้งหมดในพื้นที่นั้นถือว่ายังไม่เข้าประเทศจีน

กรณีผลไม้อบแห้งเป็นสินค้าที่สามารถส่งออกไปยังประเทศจีนได้ง่าย อีกทั้งยังเป็นสินค้าที่แปรรูป ซึ่งสามารถขอ อย. ของประเทศจีนเพื่อให้สามารถนำเข้าสินค้าได้อย่างสะดวก โดยสินค้าด้านอาหารสามารถขอ อย. ได้ง่ายใช้ระยะเวลาไม่เกิน 3 - 12 เดือน แต่ถ้าเป็นยาจะมีข้อจำกัดในการขอ อย. 

สำหรับการแก้ไขปัญหาการโดน Copy Brand แบรนด์  ถือว่าสินค้าแบรนด์ที่โดน Copy ประสบความสำเร็จทางด้าน Branding เช่น After You

ที่ผ่านมาแบรนด์ 
After You ก็โดนคนจีน Copy Brand ไปเช่นกัน เนื่องจากคนจีนมองเป็นร้านที่ได้รับความนิยมและดังในประเทศจีน เลยไปจดทะเบียนการค้าในประเทศจีน  แต่เพียงยังไม่เปิดเท่านั้นเอง ซึ่งหากคนจีนต้องการขาย After You จริงก็ต้องซื้อสูตรจากประเทศไทยไปเท่านั้น ซึ่งหาก 3 ปีผ่านไปแล้วทางผู้จดยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจ เราซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ตัวจริงก็สามารถร้องถอนการจดทะเบียนได้เช่นกัน


สำหรับเรื่องการลงทุนและการตั้งบริษัทเพื่อลงทุนในประเทศจีนนั้น จากประสบการณ์ที่ทำงานร่วมกับ  AirAsia  ขายตั๋วในประเทศจีน ซึ่งมีรายจากการขายตั๋วรวม 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ไม่สามารถเอาเงินออกนอกประเทศจีนได้ ซึ่งรายได้มาจากประเทศจีนสามารถเอาออกมาได้ 2 วิธีเท่านั้น
1.  Dividend หรือเงินปั่นผลกลับคืนมา โดยทาง AirAsia เปิดบริษัทในรูปแบบที่เจ้าของที่ไม่ใช่คนไทยเป็นการดำเนินการ โดยกรณีนี้ขอเอาเงินออกจากประเทศยากมาก
2. การดำเนินการผ่าน Cost central โดยทาง AirAsia ไม่ได้ขอเป็น Profit central ก็ดำเนินการโอนเงินกลับมายังประเทศไทยเป็นเรื่องที่ยากเช่นกัน



ดังนั้นวิธีการที่ดีรูปแบบ คือ การซื้อสินค้าจากประเทศจีนมาเป็นของเรา เช่น การซื้อเครื่องบินในประเทศจีนแทน

ถ้าเรารู้อยู่แล้วว่ามีเอกสารอะไรโอนเงินจากประเทศไทยไปจีนเท่าไร โดยขอไว้เลยว่าถ้ามีเงินที่เป็นกำไรก็ขอเงินตีกลับมาที่ประเทศไทย ซึ่งจริงๆเอาเงินออกมาได้ถ้าดำเนินการถูกต้องตามกฏหมายทุกอย่าง

ปัญหาคือตอนเอาเงินเข้าไปแรกๆ คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยมีความรู้ทางการเงินมาก ซึ่งตัวเอกสารต้องระบุการนำเงินออกจากประเทศจีนให้ชัดเจน เงินก็จะออกมาง่าย

ในมุมการตลาดนั้นเวลาที่เราเป็นบริษัทไทยไปเปิดสาขาอยู่ที่ประเทศจีน ภาพลักษณ์จะดูดีขึ้นมาทันที

สิ่งสุดท้ายสำหรับภาคบริการ คือการลงทุนที่ทำให้ลูกค้าถ่ายรูปแชร์สถานที่ร้านค้าของเรา  โดยเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าสามารถบอกต่อได้ดีที่สุด และอีกสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือการทำ Content ให้คนจีนรู้จักสินค้าและบริการของเรา โดยเป็นเนื้อหาของเราเอง เช่น สยาม สู้ๆ ฮู่อัน ที่กลุ่ม Siam Paragon และ ONESIAM ทำได้ดีมาก เป็นที่จดจำของคนจีน



โดยในระหว่างนี้ที่มีโรคระบายส่วนใหญ่ทุกคนจะอยู่ในบ้าน โดยที่ 2 อุตสาหกรรมที่จะได้รับความนิยม

1. Content เพราะคนจีนโดนกักตัว ดังนั้น เอ็นเตอร์เทนเม้นท์เราก็จะขายไปยังช่อง 3 ให้ไปออกอากาศที่ประเทศจีนสามารถดำเนินการได้อย่างทันที
2. E-Commerce  อันนี้ดีที่สุดเพราะพวกเขาต้องสั่งอาหารมา โดยเฉพาะ เมืองที่เปิดการขนส่งถือว่ามาแรงมาก โดยผู้ให้บริการรับส่งอาหารด้วยมือปลอมๆ

























No comments:

Powered by Blogger.