Ads Top

Resilience: กรณีศึกษา หมูปิ้งยุดยา การปรับองค์กรเพื่อรับความปรกติรูปแบบใหม่ New Normal จากธุรกิจTravel รายได้ 100 ลบ. CMMU Mahidol


ความสามารถในการหยืดหยุ่น (Resilience)ไปตามการเปลี่ยนแปลงเป็นเรืองยากสำหรับทุกคน เพราะมนุษย์ถูกปลูกฝังให้คุ้นชินกับวิถีที่ปฎิบัติ ทว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะสอนเราให้ปรับตนเองจนชิน ใครปรับเร็วที่สุดก็มีแนวโน้มที่จะได้ไปต่อ
เรื่องของเราในวันนี้ เป็นบทเรียนทางธุรกิจที่นำเสนอผ่านการพูดคุยระหว่าง รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา หัวหน้าสาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU วิภาวดีรังสิต กับคุณภาคภูมิ เรืองชัยศิวเวท เจ้าของธุรกิจบริษัท ออลอิน ทราเวล จำกัด ซึ่งผันตัวเองมาดำเนินธุรกิจหมูปิ้งยุดยาโดยมีการถอดรหัสความสามารถในการยืดหยุ่น เพื่อ ตอบรับ ความปรกติในรูปแบบใหมม



อ.ณัฐวุฒิ: ผลกระทบจากการระบาดของโคโรน่าไวรัส มีผลต่อธุรกิจการท่องเที่ยวมาก คุณภาคภูมิเล่าให้ฟังได้ไหมครับ
คุณภาคภูมิ: ปัจจุบันการธุรกิจเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างเต็มๆ เปรียบเสมือนอยู่ท่ามกลางพายุใหญ่ ไม่ได้ต่างอะไรกับธุรกิจสายการบินและต้องหยุดดำเนินการทันที ตั้งแต่เกิดวิกฤตดังกล่าว ลูกค้าของผมยกเลิกทริปการท่องเที่ยวทั้งหมด ซึ่งเป็นเหตุการที่ไม่เคยเกิดขึ้นในรอบ 20 ปี
ช่วงเดือนมกราคม 2563 ทางผมพานักท่องเที่ยวไทยไปยังประเทศจีน ซึ่งภายในประเทศจีนก็เริ่มมีข่าวโรคระบาดโควิด 19 ซึ่งคาดว่า น่าจะจำกัดวงของการแพร่เชื้อโรคและเชื้อโรคดังกล่าวได้ไม่น่าจะเข้ามายังประเทศไทย เช่นเดียวกับโรคซาที่เกิดขึ้น ซึ่งการเกิดโรคดังกล่าวเรายังสามารถดำเนินกิจการพากรุ๊ปทัวร์ของเราไปท่องเที่ยวได้ตามจุดหมายที่เราต้องการได้ เช่น พากรุ๊ปทัวร์ของเราไปท่องเที่ยวไปกลุ่มประเทศยุโรป



อ.ณัฐวุฒิ: คุณภาคภูมิตั้งรับอย่างไรครับ
คุณภาคภูมิ: เมื่อเกิดสภาวะวิกฤตโรคระบาดโควิด 19 โดยเฉพาะต้นปีในช่วงมกราคม - กุมภาพันธ์ ซึ่งลูกค้าเริ่มสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมากว่ามันอันตรายหรือไม่ มันน่ากลัวหรือเปล่า ทางบริษัทเองก็เริ่มระมัดระวัง และเกิดความไม่แน่นอน ซึ่งเราเองก็ต้องเซ็นสัญญากับลูกค้าหลายๆเจ้า เช่นการพากรุ๊ปทัวร์ไปดูงานต่างๆ ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้น่าจะต้องเซ็นสัญญากันข้ามปี แต่เมื่อจำนวนคนป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เราจึงมองว่าสถานการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะ จบในระยะสั้น น่าจะจบในระยะของเดือนตุลาคม จนถึงเดือนมีนาคม 2563 ประเทศได้เกิดการ Shutdown เกิดขึ้นส่งผลทำให้องค์กรไม่สามารถดำเนินการได้ เราเลยมองหาการปรับตัวโดยมองธุรกิจใหม่

อ.ณัฐวุฒิ เพื่ออะไรครับ อะไรคือเป้าหมายของการปรับตัวของคุณ ในตอนที่อะไรก็เปลี่ยนยาก
คุณภาคภูมิ: จุดเปลี่ยนจากธุรกิจท่องเที่ยวมาเป็นธุรกิจอาหาร เกิดจากปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ธุรกิจการท่องเที่ยว ได้ถูกยกเลิก ทั้งหมด 100% กรุ๊ปทัวร์ที่ยังไม่ได้เดินทางเข้ามาถูกเลื่อน โดยไม่มีกำหนด ไปจนถึงสิ้นปีนี้ ส่งผลให้องค์กรไม่มีรายได้เข้ามาอย่างน้อยๆคือ 10 เดือน หลายๆบริษัทในกลุ่มการท่องเที่ยวเริ่มที่จะ leave out pay ตั้งแต่ช่วงมีนาคมเป็นต้นมา

ผลจากการประชุมในทีมของผม ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ค่อนข้างเคร่งเครียด ทุกๆคนมองเห็นว่า เราควรลดเงินเดือน หรือเราควรจะปิดกิจการชั่วคราว เพราะแต่ละบริษัทเลือกที่จะปิดกิจการชั่วคราวซึ่งเป็นวิธีการที่ปลอดภัยมากที่สุด

แต่ผมห่วงลูกน้อง สุดท้ายเราก็เลือกที่จะลดเงินเดือน และต้องหาธุรกิจที่ก่อให้เกิดรายได้เข้ามา เรามองว่า หากเราปิดกิจการชั่วคราว ก็จะส่งผลทำให้ลูกน้องเดือดร้อน หลายคนก็อยู่กับเรามาก่อนที่บริษัทจะเปิด ส่วนใหญ่จำนวน 70 เปอร์เซ็นต์ หลายคนอยู่ถึง 15 ปี และที่สำคัญ turn over ของพนักงาน ค่อนข้างน้อย เพราะว่าเรามีระบบการทำงานของเรา ซึ่งเป็นระบบการทำงานแบบครอบครัว

ทางเลือกนี้ถือเป็นทางที่ให้ทุกคนเจ็บปวดน้อยที่สุด โดยที่เราไม่ได้ให้ใครออก แต่เราต้องปรับลดเงินเดือนและค่าจ้างลดลง ซึ่งเรามองว่า "เราช่วยเขาเขาช่วยเรา" เป็นทางออกที่ดีที่สุด เราเองก็ปรับเวลาการทำงานของเขาให้น้อยลงซึ่งกรณีนี้เป็นวิถีทางที่ดี



อ.ณัฐวุฒิ: เลยเป็นที่มาของการเปลี่ยนปรับและยืดหยุ่นในการทำธุรกิจอาหาร
คุณภาคภูมิ: อุตสาหกรรมอาหารโดยเฉพาะหมูปิ้งยุดยา ผมเกิดแรงบันดาลใจจากนักแสดงในวงการบันเทิงบางท่านเมื่อเกิดประสบปัญหา ไม่มีใครจ้างงานก็หันมาดำเนินธุรกิจทางด้านอาหาร ซึ่งผมมองว่ากรณีดังกล่าวทำให้ผมมีทางเลือกค่อนข้างเยอะในชีวิตมากกว่าเดิม ซึ่งจริงๆแล้วเราไม่ได้มองว่าตัวเลือกนี้ต้องเป็นตัวเลือกอาหาร ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมายังมีทางเลือกอีกมากมายในการดำเนินธุรกิจ เช่น ธุรกิจการขายเจลแอลกอฮอล์ การขายเครื่องฟอกอากาศ การขาย Face Shield สิ่งเหล่านี้ถือเป็นหนึ่งในทางเลือก

ซึ่งการเลือกแต่ละทางเลือกจะต้องมีทุน โดยสภาวะวิกฤติในขณะนี้การลงทุนไม่ควรจะลงทุนสูงมากจนเกินไป และที่สำคัญจะต้องไม่มีกระบวนการในการดำเนินธุรกิจที่ซับซ้อนมากเกินไป

จริงๆผมมองว่าสตรีทฟูดในบ้านเราเนี่ย ยังมีอัตราการเติบโตที่สูงและที่สำคัญส่วนตัวเป็นคนที่ชอบเดินตลาด รวมถึงตลาดกลางคืนหรือตลาดปกติสินค้ามีปริมาณค่อนข้างเยอะ
หากเราดำเนินธุรกิจบางอย่างแล้วเราสามารถที่จะไปเปิดสาขาอื่นได้หรือไม่

ซึ่งเราเริ่มต้นจากตลาดพระประแดง ทางตลาดนัดก็ใจดีมาก เจ้าของให้ผมไม่ต้องจ่ายค่าแผงเพราะเนื่องจากว่าช่วงดังกล่าวเป็นช่วงเวลาล็อกดาวน์ พอเราคุยเราก็เลยมีความรู้สึกว่าทุกอย่างค่อนข้างลงตัวมากๆ

ในปัจจุบันหมูปิ้งยุดยาของผมได้ออกสื่อค่อนข้างบ่อยเนื่องจากกรณีผมเองถือว่าเป็นกรณีของเรื่องแรงบันดาลใจ จากวันที่เราทำงานทัวร์วันนึงเราไม่ได้ทำแต่เรายังหารายได้สู้ชีวิตต่อ ซึ่งหากเรามาดำเนินธุรกิจอื่นเราต้องปรับตัวอย่างไร ก็เป็นโจทย์ที่สื่อมวลชนสนใจอย่างมาก ที่สำคัญคนที่รับฟังเราก็สนใจเนื้อหาสาระที่เราสนทนาเช่นเดียวกัน หลายคนก็สอบถามว่าทำแล้วดีหรือเปล่า หลายคนก็อยากซื้อแฟรนไชส์เราเช่นเดียวกัน



อ ณัฐวุฒิ ขอบคุณคุณภาคภูมิสำหรับการแบ่งปันเรื่องราวที่ดีในช่วงวิกฤตแบบนี้ครับ

ทั้งหมดนี้เป็นการถอดรหัสและบทเรียน ความเป็นผู้ประกอบการ ที่อยู่ในช่วงวิกฤต ของคุณภาคภูมิได้เป็นอย่างดี เราได้เรียนรู้เรื่อง ความยืดหยุ่นอย่างเป็นรูปธรรมจากแขกของเรา คุณภาคภูมิเองมองในสิ่งที่ ธุรกิจที่มีอยู่สามารถดำเนินการต่อยอดหรือขยายให้มีขนาดผู้ซือขายในจำนวนมากได้ (Repeatable and Scalable) ที่สำคัญคุณภาคภูมิไม่เพียงแต่ มีความสามารถ ในการวิเคราะห์ ขีดจำกัด ขององค์กรเท่านั้น แต่ยังสามารถมองเห็นโอการใหม่ในความไม่มีโอกาส คุณสมบัตินี้ทำให้องค์กรขับเคลื่อนไปยังธุรกิจใหม่ได้ โดยอาศัยความยืดหยุ่น และ การคิดเร็วทำเร็ว นอกจากนี้ แขกรับเชิญของเรา มองถึงโอกาสใหม่ๆ ที่ไม่ใช่ solution เดิมๆ นี่คือตัวอย่างของ ภาวะผู้ประกอบการ ที่จะยืนหยัดอย่างเข้มแข็งด้วนรากแก้วแห่งปัญญาทางธุรกิจและก้าวไปพร้อมสัจธรรมของ New Normal

#entrepreneurship #innovation #resilience #newnormal #covid19

หาเพื่อนๆชาว cmmu มหิดลสนใจหมูปิ้งยุดยา สามารถติดต่อได้ที่ https://www.facebook.com/yudyaayoi/

ที่ CMMU เราเรียนรู้เรื่องราวทางธุรกิจผ่าน dialogues ทางการจัดการ โดยนักบริหาร เพื่อนักบริหาร

No comments:

Powered by Blogger.