Ads Top

BRANDiNG ชี้ องค์กรยุคใหม่ต้องแข่งขันในความคิด ชูพฤติกรรมการรักษาสิ่งแวดล้อม ขยะสามารถทำ CHV ได้




ล่าสุด คุณปิยะชาติ อิศรภักดี (แบรนดิ) ผู้เขียนหนังสือ BRANDiNG 4.0 และ Business as Unusual ได้กล่าวในงาน Marketing Conference No.31 ในวันที่ 10 มกราคม 2563 ในหัวข้อ Voice of Green : เพื่อโลก เพื่อเรา ชี้ว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ "ทำอย่างไรให้ธุรกิจของเรา เป็นที่ต้องการของสังคม และสังคมยังมีความต้องการเราอยู่" ให้สังคมมองว่าองค์กรของเราช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งตัวเราและสังคมถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่มีรายละเอียดต่อไปนี้. คุณปิยะชาติ อิศรภักดี (แบรนดิ) ผู้เขียนหนังสือ BRANDiNG 4.0 และ Business as Unusual กล่าวว่า เนื่องจากที่ผ่านมาผู้บริโภคมองว่าภาคส่วนธุรกิจ มองว่า การรักษาธรรมชาติเพื่อสังคม ถือเป็นส่วนที่สำคัญต่อการช่วยลดสภาวะแวดล้อม

ส่วนตัวมองว่าความยังยืนนั้นคือวิวัฒนาการ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงทันสมัย และ ช่วงพัฒนาแบบความยั่งยืน ที่ผ่านมาข้อมูลดังกล่าวเป็นการส่งผ่านข้อมูลด้วยระยะสั้น

ซึ่ง "ทำดีกว่าไม่ทำ" เพื่อให้บางธุรกิจสังคมพูดถึงบ้าง แต่หากไม่ดำเนินการพลักดันธุรกิจก็ยังเจริญเติบโตไปได้ จนกระทั่งคนเริ่มเห็นโครงสร้างทางสังคมและสิ่งแวดล้อมบางอย่างกลายเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบกับชีวิตเรา เช่น เราไม่รู้เลยว่าเราปล่อยก๊าซ CO2 สูงขนาดไหน โดยเฉพาะเมื่อเรามาเจอเหตุฉุกเฉินอย่างเรื่องฝุ่นพิษ ผู้คนต่างๆต่างเริ่มซื้อสินค้าและบริการที่ป้องกันและหลีกเลี่ยงฝุ่น

จากนี้ไปความยั่งยืนกลายเป็นเรื่องที่ทันสมัย สังคมกำลังมองว่า "สิ่งเหล่านี้เราจริงจังมากขนาดไหน เพราะอะไรปัญหาเหล่านี้ยังคงเกิดปัญหาเหล่านี้อยู่" ในขณะที่ภาคธุรกิจจึงเริ่มตอบสนองภาคสังคมที่จะตอบสนองสินค้าที่มีความยั่งยืน 


ปัจจุบันเป็นเรื่องการแข่งขันในความคิด โดยไม่สามารถดำเนินธุรกิจแบบในรูปแบบเดิมๆ ที่ต้องคุมราคาให้ดี มีประสิทธิภาพสูง เสียน้อย แต่ยุคนี้เรากลับมาที่ความคิดซึ่งเป็นความคิดของระบบนิเวศทั้งหมด โดยผู้บริโภคก็ต้องเปลี่ยนพฤติกรรม โดยที่ลูกค้าไม่ได้เป็นพระเจ้าแล้วเพราะว่าลูกค้าทุกคนต้องเป็นผู้รักษาโลกของเราเช่นกัน

คนในองค์กรธุรกิจก็ต้องร่วมมือกันเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมกันทั้งองค์กร, ทั้งบอร์ดบริหารหรือผู้นำองค์กร เพราะว่าความท้าทายของเราต้องเอาแผนธุรกิจและคนเข้ามาด้วยกัน แล้วส่งผลกำไรสุทธิ

หากเรายืนยันข้อมูลว่าความสำเร็จขององค์กรคือผลประกอบการและตัวเลข ภาระเหล่านนี้จะตกไปคนทำงานทันที ซึ่งเราต้องไปเปลี่ยนความคิดใหม่ เนื่องจากทุกๆธุรกิจมีทางไปหรือวิธีการดำเนินงานอยู่เสมอโดยที่ ขยะคือสถานะแล้วเรานำกลับมาทำเป็นธุรกิจได้ หากทำได้บริษัทนั้นจะมีผลกำไรมหาศาลได้

เราสร้างธุรกิจที่ไม่มีใครอยากได้ หรือเป็นบริษัทที่ไม่มีใครอยากทำงาน สร้างธุรกิจจากทรัพยากรที่มีปริมาณมหาศาล หากคิดได้เราก็จะเห็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในรูปแบบใหม่ แล้วสุดท้ายสินค้าและบริการเหล่านนี้ก็จะกลับมาสู่ธุรกิจใหม่อีกครั้ง


สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ "ทำอย่างไรให้ธุรกิจของเรา เป็นที่ต้องการของสังคม และสังคมยังมีความต้องการเราอยู่" การทำ CSR ถือว่าดีและมีความน่าสนใจ โดยมีวิธีคิดที่น่าสนใจ ถ้าคุณแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ เราก็จะมองว่าเป็น CSV โดยที่องค์กรของเราก็ได้ประโยชน์และสังคมก็ได้ประโยชน์


สำหรับผู้สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต ลงทางด่วนดินแดง เลี้ยวซ้ายปุ๊บถึงเลย เลขที่ 69 โทรศัพท์ 02-206-2000 หรือเข้าไปที่ www.cmmu.mahidol.ac.th หาก หากใครสาย Social ก็เข้าไปที่ https://www.facebook.com/CMMUMAHIDOL/ ได้ข้อมูลครบ จบ ในที่เดียว




1 comment:

Powered by Blogger.